มาทำความรู้จักโรคเนื้อเน่ากันเถอะ

       หลายวันก่อนได้มีโอกาสอ่านข่าวดารา คุณ บอย ปกรณ์  ไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นแล้วถูกแมลงกัด แล้วต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อ ซึ่งคุณหมอได้ออกมาบอกว่า โรคแบคทีเรียกินเนื้อและโรคเนื้อเน่า คือชื่อเรียกของโรคชนิดเดียวกัน ลักษณะของโรคนี้คือ เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังมีการติดเชื้อแบคทีเรีย

ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียว หรืออาจเป็นจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน จุดที่เป็นอันตรายมากที่สุด เช่นไขมันใต้ผิวหนัง จะมีความรุนแรงมาก อันตรายถึงชีวิต

          สำหรับแบคทีเรียชนิดนี้จะระบาดในช่วงหน้าฝน

โดยโรคนี้มักจะพบในกลุ่มของเกษตรกร เพราะต้องลุยน้ำโคลน แต่ที่จริงแล้วก็สามารถเกิดได้กับทุกคนทุกเพศทุกวัย

โรคนี้การถูกแมลงกัด ถูกกระจกบาด หรือเศษไม้ตำ แล้วไม่ได้รับการทำความสะอาดแผลและรักษาก็ทำให้เกิดโรคชนิดนี้ได้เหมือนกัน การติดเชื้อมักมีอาการรุนแรงและรวดเร็ว

ต้องรีบทำการรักษาอย่างเร่งด่วน ไม่เช่นนั้นอาจจะเสี่ยงที่จะต้องสูญเสียอวัยวะหรืออาจเสียชีวิตได้  กลุ่มคนที่เสี่ยงที่จะเป็นโรคเนื้อแบคทีเรียกินเนื้อมากกว่าคนกลุ่มคือ คือกลุ่มคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับแข็ง โรคมะเร็งและโรคไตวาย คนที่ติดแอลกอฮอล์ คนติดบุหรี่ คนอ้วน หรือแม้แต่คนที่การใช้สารเสพติดเข้าเส้น ล้วนเสี่ยงมากคนทั่วไปมาก 

       ลักษณะอาการของโรค

จะมีลักษณะผิวหนังบวม แดง เมื่อกดลงไปจะเจ็บตรงบริเวณที่มีการติดเชื้อ ถ้าไม่รีบรักษาภายใน 36 ชั่วโมงตรงบริเวณที่มีการบวมแดงจะกลายเป็นสีม่วงคล้ำ และมีตุ่มน้ำพองเกิดขึ้นที่ผิวหนังและมีการตายของชั้นใต้ผิวหนังและถ้าปล่อยให้เป็นมากขึ้นจะไปทำลายเส้นประสาท ทำให้ชาผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อ

หลังจากนั้นจะเริ่มมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยเนื้อตัว เริ่มอาเจียนและหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ และหากไม่ได้รับการรักษา จะทำให้มีการแพร่ของเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระบบต่างๆในร่างกายล้มเหลว จนผู้ป่วย ช็อคและเสียชีวิตลง ดังนั้นเมื่อพบว่ามีบาดแผลควรรีบล้างทำความสะอาดแผล และรีบรักษาทันทีอย่าปล่อยให้ลุกลาม

     หากตรวจพบว่าเป็นโรคนี้

ผู้ป่วยจะต้องรีบเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลทันที่ โดยการรักษาคุณหมอจะทำการผ่าตัดให้ลึกถึงชั้นพังผืดที่ห่อหุ้มชั้นกล้ามเนื้อแล้วเอาเนื้อเยื่อบริเวณที่ตายออก พร้อมกับให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดและมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ซึ่งบางครั้งถ้าการติดเชื้อมีการลุกลามอาจถึงขั้นตัดอวัยวะที่ติดเชื้อออกได้ เพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อ 

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ เราจึงควรระมัดระวังไม่ให้มีบาดแผล และเมื่อพบว่ามีบาดแผลให้รีบทำความสะอาดบริเวณแผล หากพบว่ามีการบวมแดงของแผล ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจสอบอาการ

ป้ายกำกับ:

Related Post